Permaculture in Thailand

Sustainable Projects & Happy Simplicity

  • หนังสือความรู้เบื้องต้นเพอร์มาคัลเชอร์ Introduction to Permaculture
  • Permaculture Children’s House
  • Symphony of the Soil for Education (documentary)
  • Blog
  • International Permaculture Day in Chiang Mai
  • Thailand Permaculture Convergence
  • Permaculture community, Mae Chaem, Chiang Mai
  • what is Permaculture?
  • Movie Children of Tomorrow

Powered by Genesis

60 วันกับการทดลองปลู กเมล็ดพืชในสวนเกษตรอินทรีย์อย่างมีประสิทธิผล ในรูปแบบของพอร์มาคัลเชอร์

28/02/2016 By Xavier

ความวุ่นวายของการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันของพวกเรา ความคิดที่จะปลูกผักด้วยตัวเองดูเหมือนจะเป็นไปได้ยาก  เรื่องราวและเหตุการณ์ที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่า มันเป็นไปในทางตรงกันข้าม ดังนั้นเราจะทำให้คุณมีแรงจูงใจที่จะทำให้ความฝันของคุณเป็นจริง
1 ปีที่ผ่านมามีเรื่องราวที่พูดกันในประเทศแคนนาดา  เจ้าของบ้านหลังหนึ่งมีพื้นที่ว่างหน้าบ้านติดถนน
เขาอยากจะเปลี่ยนพื้นที่ว่างหน้าบ้านให้เป็นสวนผัก ซึ่งเขาคาดหวังที่จะปลูกผักเป็นของเขาเอง แต่ในเมืองไม่สามารถทำแบบนั้นได้ เพราะในเมืองมีแต่ตึกอาคารบ้านเรือนที่ถูกสร้างขึ้นมาแทนพื้นที่ว่าง จึงทำให้พื้นที่ว่างในปัจจุบันน้อยลง ส่วนสนามหญ้าหน้าบ้านต้องคงสภาพไว้แบบนั้นไม่เปลี่ยนแปลง อุทาหรณ์ครั้งนี้เป็นแรงจูงใจให้หนุ่มสาวชาวอเมริกันคิดที่จะทำอะไรบางอย่างที่โดดเด่นขึ้นมา
Luke Keegan เป็นเจ้าของบ้านหลังเล็ก ๆ  ที่อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขแถวชานเมือง Oakland ในอ่าว San  Francisco  เขาเหนื่อยกับการตัดหญ้าที่มีแต่ความสวยงามแต่ไร้ประโยชน์ และต้องเสียเวลากับการบำรุงรักษา ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง  Luke ได้ทดลองปลูกต้นมะเขือเทศเป็นครั้งแรก ผลที่เขาได้รับคือเพื่อนบ้านได้พูดคุยกันเกี่ยวกับสิ่งที่เขาทำ หลังจากนั้นเขาจึงได้เลือกวิธีที่ใช้ระยะเวลาในการปลูกผักให้น้อยที่สุด และต้องการทำสวนให้ประสบความสำเร็จ โดยร่วมมือกับสมาคมวัฒนธรรม  จากนั้นภายใน 2 เดือน เขาได้เปลี่ยนสวนหน้าบ้านของเขาประมาณสิบตารางเมตร
ให้เป็นสวนผักที่สมบูรณ์แบบ โดยคิดและออกแบบสวนอย่างพอร์มาคัลเชอร์

แรงบันดาลใจของเขาเกิดจากการโต้เถียงกันของคนแคนนาดา เขาจึงเริ่มทำเว็บไซต์เพื่อแบ่งปันรูปภาพสนามหญ้าหน้าบ้านของเขาที่ไร้ชีวิตชีวาให้กลายเป็นสวนผักที่เขียวชอุ่มบนเว็บไซต์ lmgur และนี่คือเรื่องราวของเขา
ทุกอย่างเริ่มต้นจากการลงมือทำลังไม้ โดย Luke ได้เติมปุ๋ยหมักลงไปในลังไม้ และหว่านเมล็ดลงไป
จากนั้นรอการเจริญเติบโตของเมล็ดพืช
แฟนสาวของ Lukeเป็นคนที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จและคอยช่วยเหลือ ดูแลสวนผักบนทางเดินหน้าบ้านของ Luke โดยการวางลังไม้บนพื้นคอนกรีต และหว่านปุ๋ยเล็กน้อย จนประสบความสำเร็จ

– การติดตั้งระบบแจกจ่ายน้ำในสวนเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อนมากที่สุด
– เศษไม้และขี้เลื่อยสามารถคุมหน้าดินเพื่อทำให้หญ้าไม่สามารถเจริญเติบโตได้
– ผลที่ได้คือน่าอัศจรรย์มาก
– ผลผลิตที่ได้ครั้งแรกคือผักสลัดล็อกเก็ต ตามด้วย ผักโขม
– แรดิช, บีทรูท,แครอท, ถั่วลันเตา, หัวหอม, มะเขือเทศ และอื่นๆ ทั้งหมดนี้สามารถนำมาทำอาหาร
เพื่อสุขภาพได้ 100%  และสดใหม่ทุกวัน

– ความสำเร็จของการปลูกผักในรูปแบบของพอร์มาคัลเชอร์ ครั้งหนึ่งกับการทำสวนผักที่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตที่มัคุณภาพและประสบความสำเร็จ  ดังนั้นส่วนหนึ่งของผักที่ Luke เก็บเกี่ยว เขาเลือกที่จะเแบ่งปันให้กับผู้คน
ที่สัญจรไปมา
– แต่งเติมสีสันในสวนผักด้วยดอกไม้
– มองไปที่สวนของเพื่อนบ้าน จะมองเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน จึงทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
– ลองจินตนาการถึงตัวอย่างที่เปรียบเทียบให้เห็นว่า คุณมีทางเลือกที่จะเปลี่ยนสนามหญ้าหน้าบ้าน
ที่ธรรมดาให้เป็นสวนผักที่มีคุณภาพ การทำสวนผัก แน่นอนอาจต้องใช้เวลานาน แต่ผลตอบแทนที่จะได้รับ
มันคุ้มค่ากับการทำสวนผักในรูปแบบที่เราต้องการ

60 days permaculture

Source:

http://aidersonprochain.com/en-60-jours-il-est-passe-de-quelques-graines-a-un-potager-bio-hyper-productif-en-permaculture/

Filed Under: Blog

วัฒนธรรมยั่งยืน (Permaculture) คืออะไร?

01/08/2015 By Xavier

วัฒนธรรมยั่งยืน หรือ Permaculture คือ การออกแบบวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์โดยยึดหลักความคิดทั้งหมดของระบบ โดยใช้หลักจริยธรรมและหลักการออกแบบ วัฒนธรรมยั่งยืนนี้เป็นการเลียนแบบรูปแบบและความสัมพันธ์ต่างๆที่เราสามารถหาได้ในธรรมชาติและสามารถนำมาปรับใช้กับการอยู่รวมกันของมนุษย์ได้ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น เกษตรกรรมจนถึงอาคารเชิงนิเวศ หรือจากเทคโนโลยีที่เหมาะสมจนถึงการศึกษาหรือแม้แต่เศรษฐกิจ
โดยการปรับใช้หลักจริยธรรมและการนำหลักการเหล่านี้มาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา เราสามารถเปลี่ยนจากการเป็นผู้บริโภคที่ต้องพึ่งพิงเป็นผู้ผลิตที่รับผิดชอบได้ หนทางสร้างทักษะและพลังเข้มแข็งและสร้างสรรค์ทั้งที่บ้านและในชุมชนของเราจะช่วยเราเตรียมพร้อมรับมือกับอนาคตที่ไม่แน่นอนของพลังงานที่ลดน้อยลง
เทคนิคและกลยุทธ์ที่ใช้ในหลักการเหล่านี้มีความแตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตั้ง สภาพอากาศ และทรัพยากรที่มี นอกจากนี้ วิธีการดำเนินการยังแตกต่างกัน แต่หลักการพื้นฐานของกลยุทธ์นี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้หลักการนี้จะทำให้คุณได้รับเครื่องมือในการคิดที่ทรงคุณค่าที่จะช่วยให้คุณมีพลังที่เข้มแข็งและสร้างสรรค์ยิ่งขึ้นในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้
หัวใจของวัฒนธรรมยั่งยืน คือ หลักจริยธรรมสามประการ
อันประกอบด้วย การดูแลโลก การดูแลผู้คนและการแบ่งปันอย่างเป็นธรรมซึ่งเป็นพื้นฐานของการออกแบบเพื่อวัฒนธรรมยั่งยืนและยังพบได้จากสังคมแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่
หลักจริยธรรม คือ กลไกที่พัฒนามาจากสังคมที่กำหนดความสนใจในตัวเอง ทำให้เราเข้าใจผลลัพธ์ที่ดีและไม่ดีได้มากขึ้น ยิ่งมนุษย์มีพลังมากเท่าไหร่ หลักจริยธรรมยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเท่านั้นเพื่อใช้สำหรับการอยู่รอดของวัฒนธรรมและชีวภาพในระยะยาว
หลักจริยธรรมของวัฒนธรรมยั่งยืนกลั่นกรองมาจากการวิจัยหลักจริยธรรมของชุมชน การเรียนรู้จากวัฒนธรรมที่มีอยู่เพื่อสร้างสมดุลให้กับสิ่งแวดล้อมได้ยาวนานกว่าความศิวิไลซ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าเราควรเพิกเฉยต่อการสอนที่ยิ่งใหญ่ของยุคสมัยใหม่ แต่ในการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน เราต้องพิจารณาคุณค่าและแนวความคิดนอกปทัสฐานสังคมในปัจจุบัน
การดูแลโลก
สร้างทุนธรรมชาติขึ้นมาใหม่
โลก คือ มวลสารที่มีชีวิตและมีลมหายใจ หากไร้การดูแลและเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอแล้ว ผลที่ตามมาจะมากมายจนเราไม่สามารถเมินเฉยได้ 
ไอค่อนรูปต้นกล้าสื่อถึงการเติบโตอย่างเป็นธรรมชาติ และเป็นกุญแจสำคัญของชีวิตที่

ยั่งยืนบนโลก
การดูแลโลกสามารถทำได้โดยการดูแลเอาใจใส่ดิน โดยสภาพของดินเป็นตัวชี้วัดที่ดีที่สุดของสภาพความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม มีเทคนิคมากมายในการดูแลดิน แต่วิธีการที่ดีที่สุดในการบอกว่าดินนั้นสมบูรณ์หรือไม่ คือ การดูว่าชีวิตจำนวนเท่าไหร่ที่อาศัยอยู่รอบๆดิน
ป่าและแม่น้ำของเรานั้นเปรียบดั่งปอดและเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิตบนโลกให้มีชีวิตและได้หายใจ สิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบมีคุณค่าเนื้อแท้อยู่ในตัวและสมควรได้รับการเคารพในหน้าที่ที่สิ่งมีชีวิตเหล่นั้นได้ทำ ถึงแม้ว่าเราไม่เห็นว่าสิ่งนั้นมีประโยชน์ต่อความต้องการของเรา
โดยการลดการบริโภคของเราเท่ากับว่าเราได้ลดผลกระทบที่เรามีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการดูแลสิ่งมีชีวิตทุกประเภท 

การดูแลผู้คน
ดูแลตัวเอง เครือญาติและชุมชน
หากความต้องการของผู้คนเป็นไปด้วยความเห็นอกเห็นใจและในวิธีการที่ง่าย สิ่งแวดล้อมรอบตัวจะอุดมสมบูรณ์
ไอค่อนรูปคนสองคนด้วยกันสื่อถึงความต้องการมิตรภาพและความร่วมมือการเพื่อทำการเปลี่ยนแปลง
การดูแลผู้คนเริ่มจากตัวเราเองและขยายสู่ครอบครัวของเรา เพื่อนบ้านและชุมชนที่ใหญ่ขึ้น ความท้าทายคือการสร้างการเติบโตผ่านความเข้มแข็งและความสร้างสรรค์ในตัวเราเองรวมทั้งความรับผิดชอบส่วนบุคคล ความเข้มแข็งและความสร้างสรรค์ในตัวเราเองมีความเป็นไปได้มากขึ้นเมื่อเราให้ความสำคัญกับความเป็นดีอยู่ที่ของสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ การดูแลตัวเราเองและผู้อื่นโดยไม่ต้องมีการผลิตหรือการบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็น
การยอมรับความผิดชอบส่วนบุคคลในสถานการณ์ของเราให้มากที่สุดแทนการโทษผู้อื่น จะส่งผลให้เราทำตัวเองให้มีความเป็นตัวเองมากยิ่งขึ้น และหากเราสามารถรับรู้ได้ถึงปัญญาที่ยิ่งใหญ่กว่าที่อยู่ในกลุ่มคน เราจะสามารถร่วมงานกับผู้อื่นในการสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุดร่วมกัน
กลยุทธ์ของวัฒนธรรมที่ยั่งยืน คือ การให้ความสังคมในด้านบวกและโอกาสที่มีแทนการให้ความสำคัญกับอุปสรรคและสถานการณ์ที่ไร้ทางไปอย่างยิ่ง 

การแบ่งปันอย่างยุติธรรม
กำหนดข้อจำกัดและแจกจ่ายส่วนที่เหลือ
เราได้รับเวลามากมายที่ทำให้เราสามารถแบ่งปันกับผู้อื่นได้ 
ไอค่อนรูปพายสไลด์สื่อถึงสิ่งที่เรามีความจำเป็นและการแบ่งปันสิ่งที่เราไม่ต้องการ และในขณะเดียวกันเรารับรู้ว่ามีข้อจำกัดของสิ่งที่เราสามารถให้ได้และสิ่งที่เราสามารถรับได้
ต้นผลไม้ที่สร้างขึ้นมีแนวโน้มว่าจะให้ผลผลิตมากกว่าคนหนึ่งคนจะทานไหว เราต้องใช้เวลาในการเก็บผลไม้และสงวนการเก็บเกี่ยวและจำนวนจำกัดของผลไม้ที่เราสามารถใช้ได้ มีหลากหลายวิธีที่เราจะได้ประโยชน์จากการแบ่งปันอย่างยุติธรรมให้แก่ผู้อื่นในชุมชนของเรา
การเติบโตของการบริโภคของมนุษย์และการสูญพันธุ์ของสัตว์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดของความเป็นไปไม่ได้ของการเติบโต และบางครั้ง เราจำเป็นต้องทำการตัดสินใจในสิ่งที่ยากและพิจารณาว่าความเพียงพออยู่ตรงไหน 
เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับสิ่งที่เหมาะสมกับเราและสามารถทำได้มากกว่าสิ่งที่ผู้อื่นควรทำ การค้นหาความสมดุลที่เหมาะสมในชีวิตของเราจะช่วยให้เราเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น และพวกเขาจะมีแรงบันดาลใจในการค้นหาความสมดุลของตัวเองเช่นกัน

image

Filed Under: Uncategorized

Thailand Permaculture Convergence

05/06/2015 By Xavier

We are proud this year, 2015, to have been part of the Thailand Permaculture Convergence at Wanakaset.

Xavier setup the website and the Facebook page, part of the on-line communication, designed the logo, animate a workshop about Permaculure and education for Children, assist Ben in two workshops: one about Permaculture and another one about wicking beds menwhile Mini did the video and photos.

Nathalie and Bphu participate to translations English to Thai during some workshops.

We will keep it as one of our best moment in this year 2015 and greats moments of sharing and love.

We expect to see more people in 2016 Thailand Permaculture Convergence, if you are interesting to join, simply register on the website folowing this link.

Thailand Permaculture Convergence

 

Filed Under: Uncategorized

International Permaculture Day in Chiang Mai

05/06/2015 By Xavier

Two years in a row we celebrate the International Permaculture Day in Chiang Mai.

The two celebrations 2014 and 2015 have been published and recognized in the International Permaculure Day official website.

2015 International Permaculture Day in Chiang Mai hosted over a dozen of Permaculture enthusiasts at Cool Guesthouse. We have a quick introduction by Xavier Bruzaud Grille about Permaculture, then we introduce each other. A workshop on how to create Wicking Beds  take place and everybody give hands in. After that, Nathalie cooked a delicious vegetarian Pad Thai and we watched Symphony of The Soil documentary. Watch the video below.

International Permaculture day 2015 in Chiang Mai

 

Do you have any idea for the International Permaculture Day 2016 in Chiang Mai? Write us.

International Permaculture Day in Chiang Mai 2014

Filed Under: Uncategorized

Interested in participating?

All projects are non profit mainly around Permaculture and social good. E-mail us and briefly explain your motivation. Thank you.

Meet us:

- In Chiang Mai:
. At Cool Guesthouse.
. Urban Permaculture In Chiang Mai .

We will travel and will be...
- Australasia Permaculture Convergence (APC13)
. 2 - 5 October 2016, Perth, Australia
. APC13

- International Permaculture Convergence (IPC13)
. 25 November - 2 December 2017, Hyderabad, India
. IPC13